วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 3 : การประดิษฐ์บรรจุภรรณ์จากวัสดุรรมชาติ

บทที่ 3 : การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ท

จากวัสดุธรรมชาติ



ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

     สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เลือกซื้อและเลือกใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากจะพิจารณาถึงประโยชน์ใช้สอย คุณภาพ และราคาแล้ว บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มที่สวยงาม หรือแปลกใหม่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกซื้อและเลือกใช้ด้วยเช่นกัน

วามหมายของบรรจุภัณฑ์
     บรรจุภัณฑ์ (packaging) หมายถึง วัตถุหรือวัสดุที่ใช่ใส่ ห่อ หุ้มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อย่างปกปิดมิดชิด โดยที่วัตถุหรือวัสดุนั้นต้องปกป้องคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในให้มีความปลอดภัย สะดวกต่อการใช้งาน การขนส่ง การเคลื่อนย้าย และช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน

ความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์
     อดีต - ปัจจุบัน

     - ใช้ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ไผ่ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ มาห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้ เพื่อป้องกันแมลง แสงแดดและฝน                                 

     - ใช้ใบไม้ เช่น ใบตอง มาห่อหุ้มขนมหรืออาหาร นำเปลือกไม้มาสานขึ้นรูปทำกระจาด ชะลอม ตะกร้า
                             
     - ใช้กระดาษแข็ง แผ่นโลหะ ใยสังเคราะห์แก้ว พลาสติก ไม้ มาห่อหุ้มอาหารและสิ่งของต่างๆ

     - ใช้กระดาษหรือใช้ผ้ามาห่อหุ้มอาหารหรือสิ่งของต่างๆ


หน้าที่ของของบรรจุภัณฑ์
     บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้
     1. ปกป้องคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบให้สามารถปกป้องคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย ไม่เสียหายเนื่องจากการขนส่ง แมลงหรือสัตว์กัดแทะ แตกหักและเสื่อมสภาพ
     2. อำนวยความสะดวกต่อการขนส่ง การเคลื่อนย้าย และการเก็บรักษา โดยบรรจุภัณฑ์ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถวางซ้อนทับกันได้หลายชั้น มีรูปร่างที่สะดวกต่อการเรียงซ้อนกันในชั้นวางของ สะดวกต่อการจับ ถือ พกพา และขนส่ง
     3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินคาและผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์คสรแสดงให้เห็นตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ หรือบ่งบอกว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในคืออะไร ใครเป็นผู้ผลิต มีวิธีการใช้และเก็บรักษาอย่างไร ผลิตและหมดอายุเมื่อใด โดยเฉพาะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและยา
     4ส่งเสริมการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องมีรูปแบบ สีสันสวยงาม สะดุดตา ดึงดูดใจผู้ซื้อ แตกต่างจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งทางการตลาด เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและช่วยลดความผิดพลาดในการหยิบฉวยสินค้าที่ไม่ต้องการได้
     5เพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เมื่อบรรจุภัณฑ์มีความสวยงามดึงดูดใจผู้ซื้อจะสร้างความนิยมในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่สูงขึ้น
     6รณรงค์ในเรื่องต่างๆ บรรจุภัณฑ์จะต้องมีสัญลักษณ์ ภาพ ฉลาก หรือข้อความโน้มน้าวใจให้ผู้ซื้อต้องการมีส่วนร่วมในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิลฉลากเขียว ฉลากประหยัดไฟเบอร์5ข้อความ”กินของไทยใช้ของไทย”หรือข้อความเชิญชวนให้รักษาสิ่งแวดล้อม

     บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบและประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยช่วยลดปริมาณขยะและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่มีมากในท้องถิ่นของตนเองมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์


วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
     วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ได้ มีดังนี้
     1. วัสดุธรรมชาติประเภทเส้นใย เช่น กล้วย หวาย เตบปาหนัน กก กระจูด ผักตบชวา ย่านลิเภา ซึ่งก่อนนำมาถักสานเป็นบรรจุภัณฑ์ต้องผ่านการแปนสภาพด้วยการตากแห้ง ฟอกขาว อบกำมะถัน ฟั่นเกลียว
     2. วัสดุธรรมชาติที่แปรรูปเป็นแผ่น และรูปทรงต่างๆ เช่น กระดาษ
     3. วัสดุธรรมชาติประเภทไม้ เช่น ไม้สัก ไม้มะขาม ไม้ไผ่

การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
     โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไปจะแบ่งชั้นของบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มหรือปกปิดตัวสินค้าไว้ 3 ชั้น ดังนี้
     1. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน ซึ่งอยู่ชิดกับตัวสินค้า
     2. บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง ซึ้งห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
     3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ซึ่งรวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อการขนส่ง
     การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติจะต้องออกแบบ 2 ส่วนด้วยกันได้แก่ การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ชั้น และการออกแบบกราฟิกหรือภาพบนบรรจุภัณฑ์โดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
     1. บรรจุภัณฑ์ควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นสะดุดตาและสื่อความหมายได้ โดยต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ทางด้านศิลปะเกี่ยวกับสี รูปทรง ความสมดุล ผิวสัมผัส และขนาดของภาพหรือตัวอักษรมาประยุกต์ใช่ร่วมกัน เพื่อให้บรรจุภัณฑ์แตกต่างจากที่เคยมีมา และดึงดูดใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อ รวมถึงมีความสอดคล้องกับชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ด้านใน
     2. บรรจุภัณฑ์ควรสะดวกติอการใช้งานและแข็งแรงทนทาน โดยโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ต้องสมส่วน มีรูปทรงกะทัดรัด สะดวกต่อการจัดเรียงซ้อนกันและขนส่ง รองรับน้ำหนักได้  ทนทานต่อแรงกระแทก น้ำหนักเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์มีหูสำหรับบางผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการจับถือ             3.) บรรจุภัณฑ์ควรมีมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ ย่อยสลายได้ง่าย ทำลายได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งแนวทางในการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
           1.) ใช้วัสดุธรรมชาติในการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ เพราะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
           2.) ลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในการบรรจุภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์หลายชั้น ลดการใช้โบ เชือก และป้ายห้อย
           3.) ลดความหนาและความสูงของบรรจุภัณฑ์ และออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้ใช้วัสดุน้อยที่สุด
           4.) นำวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติกบางชนิด ซึ่งสามารถนำมาดัดแปลงใช้ซ้ำหรือแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหลังใช้งาน และป้องกันการเกิดมลพิษจากการเผาไหม้หรือฝังกลบ

ตัวอย่างการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

     1. บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้   
     กล่องกระดาษแข้งพับได้ประดิษฐ์จากกระดาษแข็งหน้าเดียวที่ไม่มีช่องด้านบนเปิดให้เห็นสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ด้านในเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กับอาหาร เช่น ขนมเค้ก ขนมชั้น ขนมหม้อแกง และงานประดิษฐ์ที่มีน้ำหนักเบา เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ตุ๊กตาประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติกระเป๋าผ้าใบเล็กๆ               การประดิษฐ์กล่องกระดาษแข็งพับได้  สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทุกขนาด โดยก่อนประดิษฐ์ต้องวัดขนาดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก่อน จึงจะกำหนดขนาดของกล่องให้พอดี ไม่คับแคบหรือมีพื้นที่ในกล่องมากเกินไป เพื่อไม่ให้ก่อนความเสียหายให้แก่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์
การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้มีวัสดุ อุปกรณ์และขั้นตอนการทำ ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์                    - กระดาษแข็งหน้าเดียว
                                        - ดินสอ
                                        - ไม้บรรทัด
                                        - ยางลบ
                                        - กรรไกร
                                        - คัตเตอร์
                                        - วงเวียน
                                        - กาว
                                        - แผ่นพลาสติกใส
                                        - กระดาษถ่ายเอกสาร A4

     ขั้นตอนการทำ
1.       1. ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับได้ โดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษถ่ายเอกสาร A4
          2. ร่างภาพโครงสร้างบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับได้ ตามที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษแข็งหน้าเดียว
          3. กำหนดขนาดของกล่อง กว้าง x ยาว x สูง ให้สามารถที่จะบรรจุสินค้าได้ ทำเป็นสัดส่วนจริง จากนั้นนำกล่องที่ได้มาเขียนเป็นภาพแผ่นคลี่ กำหนดส่วนประกอบของตัวกล่อง กำหนดจุดตัดจุดพับ
          4.ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัดกระดาษตามรูปแบบที่ร่างไว้ และใช้คัตเตอร์กรีดตามรอยพับเบาๆอย่าให้ขาดออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการพับกระดาษเป็นรูปทรง
          5.พับกระดาษตามรอยที่กรีด จัดรูปทรงให้เป็นกล่องสวยงาม ไม่บิดเบี้ยว จากนั้นจึงทากาวรอยต่อให้สนิท หรือใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บปนระกอบกล่อง
          6.วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่องบนฝากล่อง แล้วตัดพลาสติกให้มีขนาดใหญ่กว่าเส้นรอบวงประมาณ1นิ้ว แล้วทากาวบริเวณส่วนเกินเส้นรอบวง ติดได้ในช่องบนฝากล่อง

           2. ชะลอมประยุกต์
          งานจักสานเป็นหัตถกรรมที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่รู้จักนำวัสดุธรรมชาติ เช่น หวาย ไม้ไผ่ ใบลาน กก ฟาง ก้าน และใบมะพร้าว มาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้สอยในการดำรงชีวิตประจำวันเครื่องจักสานทำขึ้นด้วยมือ ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีคุณค่าเฉพาะตัว ลวดลายจากการสาน ถัก ทอ และรูปแบบเครื่องจักสานแต่ละชิ้นจะแสดงถึงลักษณะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน
           การสานชะลอมเป็นการนำตอกไม้ไผ่มาสานขัดกันแบบโปร่งๆ เป็นลายเฉลว ค่อยๆ เพิ่มตอกเข้าไปทีละเส้นจนได้พื้นหรือส่วนก้นของชะลอมเป็นรูป 6 เหลี่ยม สานติอจนได้ความสูงตามต้องการที่ปากชะลอมจะเหลือตอกไว้ สำหรับมัดบิดของที่อยู่ภายใน และใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย ในอดีตชะลอมใช้ใส่ของแห้งต่างๆ สำหรับเดินทาง ในปัจจุบันมีการสานชะลอมประยุกต์ โดยสานเป็นใบเล็กๆ สำหรับใส่ของชำร่วย ใส่ขนม หรือสานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นเอกลักษณ์ไทย การประดิษฐ์         บรรจุภัณฑ์ชะลอมประยุกต์มีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการกระทำ ดังนี้

     วัสดุ อุปกรณ์              - ตอกที่จักสำเร็จขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร
                                            จำนวน 12 เส้น

                                          - กรรไกร

                                        - ดินสอ กระดาษถ่ายเอกสาร A4

                   
                       - ตัวหนีบผ้าหรือหนีบกระดาษ 6 ตัว

                   
                       - สิ่งของตกแต่ง เช่น ดอกไม้แห้ง ดอกไม้ประดิษฐ์

                   
                       - กาวซิลิโคนชนิดแท่ง และปืนยิงกาว

                   
                       - แม่พิมพ์ ทำจากดินเหนียว ไม้ หรือแกนเทปกาว

     ขั้นตอนการทำ

     1. ออกแบบชะลอมประยุกต์โดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษถ่ายเอกสาร A4

     2. ลงมือสานชะลอมตามที่ออกแบบไว้โดยเริ่มจากสานก้นชะลอม นำตอกมาวางไขว้กันเป็นรูปกากบาท

     3. สานตอกขัดกันทั้งด้านบนและด้านล่าง เพิ่มตอกทีละเส้น โดยหมุนสลับข้างไปเรื่อยๆจนได้ความกว้างของก้นชะลอมตามต้องการ ซึ่งจะเห็นว่าตอกทุกเส้นขัดกันธรรมดา แบบยก 1 ข้าม 1 จนได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง 1 รูป และมีรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบ

     4. สานลายขัดเวียนก้นชะลอม โดยเริ่มจากด้านใดด้านหนึ่ง โน้มปลายตอกตั้งหรือตอกยืนให้ตั้งฉากกับก้นชะลอมทั้ง 6 ด้าน เพื่อขึ้นรูปชะลอม โดยนำเส้นตอกสานมาสานลายขัดตามแนวนอนทีละเส้นสานวนรอบเป็นวงกลม วนจนหมดความยาวของตอก ปลายตอกที่เหลือให้ทับซ้อนกับจุดเริ่มต้นซึ่งขั้นตอนนี้ให้ใช้ตัวหนีบผ้าหรือตัวหนีบกระดาษช่วย จะทำให้สานได้สะดวกขึ้น

     5. วางแม่พิมพ์ตรงบริเวณก้นชะลอม จากนั้นนำตอกมาสานลักษณะเดียวกันอีก แถวละ2เส้นโดยรอบ เว้นระยะห่างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สานต่อไปให้ขึ้นเป็นรูปทรงจะได้ชะลอมขนาดย่อมแล้วจึงดึงแม่พิมพ์ออก

     6. เมื่อสานจนได้ความสูงตามต้องการ ถ้าเหลือตอกไว้จะใช้สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายในและใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย แต่ถ้าจะทำเป็นตะกร้าที่มีฝาปิด ให้ตัดปลายตอกออกให้เรียบร้อย

     7. เมื่อตัดตอกแล้ว นำตอกเส้นเล็ก มาสานขัดรอบปากชะลอมกันหลุด โดยค่อยๆพับเส้นยืนทีละเส้นให้แนบไปกับตัวชะลอม ดึงให้แน่น ขัดซ้อนเงื่อนเส้นตอกเส้นยืนให้เรียบร้อย

     8. การสานฝาชะลอมประยุกต์ ทำเช่นเดียวกับชะลอม แต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย

     9. ตกแต่งให้สวยงามด้วยการนำดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์มาติดบนฝาชะลอมประยุกต์แล้วตรวจดูความเรียบร้อยในขั้นตอนสุดท้าย

     3.ถุงผ้าแบบหูรูด

     ปัจจุบันมีการผลิตถุงผ้าหลากหลายขนาดและรูปแบบเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันออกไป ถ้าสามารถประดิษฐ์ถุงผ้าอย่างง่ายได้ด้วยตัวเอง จะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ลดค่าใช้จ่าย และสามารถนำถุงผ้ากลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง

     การประดิษฐ์ถุงผ้าแบบหูรูดมีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำ ดังนี้

     วัสดุ อุปกรณ์                    - ผ้าตามที่ต้องการ เช่น ผ้าด้ายดิบ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าไหมแก้ว ผ้าโปร่ง

                                              - เข็ม ด้าย กรรไกร

                                              - เตารีด

                                              - ไม้บรรทัด

                                              - วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่ง เช่น สีเพนต์ พู่กัน สะดึง เข็ม ไหมปัก

                                              - เชือก

                                              - ดินสอ หรือชอล์กเขียนผ้า

     ขั้นตอนการทำ

     1. ตัดผ้าให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร ในกรณีที่จะใช้บรรจุผ้าไหม กรอบรูป หรือกระเป๋า หรือกำหนดความกว้าง ความยาวตามขนาดของสิ่งของที่จะบรรจุ

     2. พับทบชายผ้าด้านกว้างเข้าหากัน ใช้ดินสอวัดระยะจากก้นถุงขึ้นมาประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใช้ชอล์กเขียนผ้าทำเครื่องหมายไว้ โดยเว้นระยะด้านบนปากถุงไว้จากนั้นวัดระยะห่างจากขอบผ้าซ้ายละขวาเข้ามาข้างละ 1-2 เซนติเมตร แล้วใช้ชอล์กเขียนผ้าขีดเส้นเป็นแนวเย็บบางๆ

     3. เนาผ้าตามรอยที่ขีดไว้ แล้วเย็บแบบด้นถอยหลัง หรือเย็บด้วยจักรเย็บผ้าตามรอยที่เนาไว้ทั้งสองข้าง

     4. ใช้กรรไกรตัดขอบผ้าออกให้เรียบร้อย

     5. เนาและเย็บตะเข็บบริเวณรอยผ่าของปากถุงทั้ง2ด้าน

     6. พับทบผ้าบริเวณปากถุงลงมาเพื่อเย็บประมาณ7-10 เซนติเมตร แล้วเนาผ้าตามระยะที่พับลงมา

     7. กะระยะสำหรับเย็บเพื่อใช้สอดเส้นเชือก โดยแนวเย็บแรกห่างขึ้นมาจากผ้าเล็กน้อยและแนวเย็บที่สองต้องเว้นระยะให้พอที่จะสอดเส้นเชือกเข้าไปได้ ซึ่งห่างจากแนวเย็บแรกประมาณ 1.5 เซนติเมตร

     8. พลิกกลับเอาผ้าด้านในออกมา แล้วใช้เตารีด รีดถุงผ้าให้เรียบร้อย

     9. สอดเส้นเชือกสำหรับรูดปากถุง โดยกะระยะเส้นเชือกที่ต้องการใช้ แล้วตัด 2 เส้น กะระยะพอรอบปากถุง จากนั้นสอดเชือกเข้าไปในช่อง 2 เส้นคู่ ผูกชายเส้นเชือกไว้คนละด้านกัน จะได้ถุงที่มีหูรูดตามต้องการ

     10. ตกแต่งด้านหน้าของถุงผ้าให้สวยงามด้วยการเพนต์ลวดลาย หรือปักด้วยไหมปัก จากนั้นนำไปซักรีดให้เรียบร้อย ก่อนนำไปใช้บรรจุสิ่งของ






1 ความคิดเห็น: